Last updated: 15 มี.ค. 2567 | 558 จำนวนผู้เข้าชม |
ปฎิเสธไม่ได้ว่าเมื่อพูดถึงเบียร์ที่มีคุณภาพและประวัติที่มีความยาวนานหลายๆคนคงจะนึกถึง “ประเทศเยอรมัน” เป็นอันดับต้นๆที่อยู่ในใจ ซึ่งมันก็ไม่แปลกเพราะประเทศนี้ให้ความสำคัญกับการดื่มเบียร์จนเป็นวัฒนธรรมของประเทศนี้ไปเสียแล้ว อีกทั้งยังมีกฎหมายการควบคุมคุณภาพของเบียร์ด้วยกฎหมาย “กฎความบริสุทธิ์ (The Purity Law)” ที่คงยังใช้มาจนถึงปัจุบันนี้
วันนี้ “ส่องแสง” จะนำเรื่องราวต้นกำเนินและความเป็นมาเป็นไปของเบียร์ในประเทศเยอะมันมาให้ทุกคนได้รู้จักกันมากยิ่งขึ้น
ที่จริงแล้วประเทศเยอรมันไม่ได้เป็นประเทศแรกในการผลิตเบียร์ แต่จากหลักฐานพบว่าเบียร์ที่เก่าแก่ที่สุดในเยอรมันเกิดขึ้นประมาณ 800 ปีก่อนคริสตกาล ถูกผลิตขึ้นในโบสถ์ทางตอนใต้ของประเทศโดยเรียกกันว่า “บิเออร์” (Bior) และเพี้ยนมาเป็นคำว่าเบียร์ในปัจจุบันที่เราเรียกกัน จนในยุคศตวรรษที่สิบเอ็ดการทำเบียร์ในรูปแบบธุรกิจจึงเกิดขึ้นและเป็นยุคนี้ที่ได้เริ่มมีการใช้ ฮอปส์ ที่เป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการกันบูดและช่วยเพิ่มรสชาติและกลิ่นให้กับเบียร์
ในปี 1156 รัชสมัยของกษัตริย์ ดู๊ค วิลเลี่ยม ที่ สี่ แห่ง บาวาเรีย (Duke Wilhelm IV of Bavaria) เริ่มมีการควบคุมคุณภาพของเบียร์ เพื่อคงเอกลักษณ์ของเบียร์เยอรมันไว้ โดยเริ่มแรกกำหนดให้ใช้แค่ ข้าวบาร์เลย์ ฮอปส์ และน้ำ กระทั่ง ในปี 1857 ได้เพิ่มยีสต์เข้าไปในกฎด้วย ซึ่งเป็นต้นแบบในการต้มเบียร์มาจนถึงทุกวันนี้ นั่นทำให้เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมเบียร์ของเยอรมันถึงมีคุณภาพที่ดีไม่ใช้เพียงแต่กฎหมายที่กำหนดขึ้นมาในการผลิต แต่มีการพัฒนาเบียร์อยู่เรื่อยๆ รวมถึงมีระบบสาธารณูปโภคที่ดี ทำให้มีน้ำประปาที่สะอาดมากจนสามารถบริโภคได้ แถมยังมีอีกหนึ่งเหตุผลที่ช่วยทำให้คุณภาพของเบียร์ดียิ่งขึ้นไปอีกคือเป็นประเทศที่มีภูเขาไฟเยอะมากๆ ทำให้บริเวณโดยรอบอุดมไปด้วยแร่ธาตุและกลายเป็นแหล่งผลิตน้ำแร่ที่มีคุณภาพสูง และให้รสสัมผัสที่ดี
ความชื่นชอบในการดื่มเบียร์ของชาวเยอรมันมีมากจนเกิดเป็นเทศกาลเบียร์หลากหลายเทศกาลที่จัดขึ้นในแต่ละปี แต่ที่โด่งดังที่สุดคือเทศกาล “Oktoberfest” เป็นเทศกาลเก่าแก่กว่า 200 ปี และทั้งหมดนี่คือคำตอบว่าทำไม “นึกถึงเบียร์นึกถึงประเทศเยอรมัน”
ขอบคุณที่มาจาก
IMAGE HOLIDAY (THAILAND)
- https://imageholidaythailand.wordpress.com/.../%E0%B8%95.../
Thailand This Week - TTW
- https://www.facebook.com/Thailand.../posts/1975295995916188/
Sirima Prasitchaipan
- https://sites.google.com/.../sirima/home/prawati-khxng-beiyr
ลงทุนแมน
- https://www.longtunman.com/30799
18 พ.ย. 2566
18 พ.ย. 2566